การเปรียบเทียบวิธีการตรวจวินิจฉัยในการตรวจหาการติดเชื้อ Toxoplasma gondii ในโคนมในประเทศไทย
Comparison of Technique in Detecting of Toxoplasma gondii Infections of Dairy Cows in Thailand
*ไชยนิรันตร์ สุนันต๊ะ2 สถาพร จิตตปาลพงศ 1 เทวินทร์ อินปั๋นแก้ว1 นงนุช ภิญโญภานุวัฒน์ 1
วิษณุวัฒน์ ฉิมน้อย 1 ชัญญา เก่งระดมกิจ1 พิพัฒน์ อรุนวิพาส 4 และ โซอิชิ มารูยามา3
Chainirun Sununta2*Sathaporn Jittapalapong 1 Tawin Inpankaew1 Nongnuch Pinyopanuwat, 1 Wissanuwat Chimnoi, 1 Chanya Kengradomkij, 1 Pipat Arunwipas,4 and Soichi Maruyama,3
บทคัดย่อ
การติดเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii ในสัตว์มีความสำคัญต่อทางด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข เนื่องจากเชื้อ T.gondii ทำให้เกิดอาการแท้งในโคนม ในขณะเดียวกันเชื้อ T.gondii ทำให้เกิดโรคสัตว์สู่คนที่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข การตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นในด้านการค้นหาสัตว์ที่ติดเชื้อ เพื่อยับยั้งและลดจำนวนสัตว์ที่ติดเชื้อ ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข จุดประสงค์ของการวิจัย คือ การหาวิธีตรวจหาการติดเชื้อ T.gondii ที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะจะนำมาใช้ตรวจหาในโคนมในประเทศไทย การวิจัยดำเนินการโดยใช้ตัวอย่างเลือดโคนม จำนวน 50 ตัวอย่างที่ให้ทั้งผลบวกและผลลบจากการตรวจด้วยวิธี Indirect Fluorescence Antibody test (IFAT) เปรียบเทียบกับเทคนิค Enzyme linked immuno sorbent (ELISA), Latex Agglutination test (LAT), Polymerase chain reaction (PCR) และ Loop-mediated isothermal anplification (LAMP) test ผลการศึกษาพบว่าเมื่อนำวิธีอื่นๆ มาเปรียบเทียบกับเทคนิค IFAT ที่เป็น gold standerd พบว่าเทคนิค Latex Agglutinationให้ความไว (ร้อยละ 100) และ positive predictive value สูงสุดที่ร้อยละ 91.3 ในขณะที่เทคนิค PCR ให้ความจำเพาะสูงสุด (ร้อยละ 100) จากการศึกษาสรุปได้ว่าเทคนิค Latex agglutination เป็นวิธีที่เหมาะสมและควรใช้ในการตรวจค้นหาโรคเบื้องต้นแต่ควรยืนยันผลด้วยเทคนิค อื่น ๆ ได้แก่ PCR หรือ IFAT เพื่อให้ผลตรงต่อความเป็นจริงมากที่สุด
Key words: T.gondii, IFAT, ELISA, LAT, PCR, LAMP
by Chainirun Sunanta; Mae Fah Luang district Livestock office, Chiang Rai province,Thailand .