10 ธันวาคม 2552

Toxoplasmosis





โรค Toxoplasmosis เป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมว เนื่องจากแมวและสัตว์ในตระกูลแมวเป็นโฮสต์สุดท้าย หรือเป็นโฮสต์ตามธรรมชาติ โรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อ Toxoplasma gondii ซึ่งจะเจริญและขยายพันธุ์ในลำไส้ของแมว สัตว์ชนิดอื่น ๆ รวมทั้งคนเมื่อได้รับ oocysts ที่เป็นระยะติดต่อเข้าไป จะทำหน้าที่เป็นโฮสต์กึ่งกลาง ซึ่งเชื้อจะขยายพันธุ์ โดยการแบ่งตัวภายในซีสต์ และทำให้เกิดอันตราย โฮสต์เมื่อได้รับ oocysts ที่เป็นระยะติดต่อเข้าไป จะมีการแพร่กระจายตัวโดยอาศัยเซลล์ macrophage ที่เข้ามาจับกินเชื้อและเข้า ไปอยู่ในอวัยวะที่สำคัญ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ตา และกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจพบใน ปอด ตับ และไต ซึ่งส่วนใหญ่ ซีสต์จะอยู่กับโฮสต์ไปจนตาย ยกเว้นซีสต์มีการแตก ปล่อยระยะ bradyzoites ที่เป็นตัวอ่อนอยู่ภายในซีสต์ที่อาจเปลี่ยนเป็นระยะ tachyzoites ที่เป็นตัวอ่อนระยะติดต่อและบุกรุกเข้าสู่เนื้อเยื่ออื่น ๆการติดต่อของโรค Toxoplasmosis
โรค Toxoplasmosis ถ่ายทอดได้ 4 ทาง คือ
1. โดยการกิน oocysts ระยะติดต่อที่ปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือใน เนื้อ นม และน้ำ oocysts นี้จะมาจากสัตว์เพียงชนิดเดียว คือ สัตว์ในตระกูลแมว
2. โดยการกิน เนื้อเยื่อที่มีซีสต์ที่ภายในมีระยะ bradyzoites อยู่ โดยซีสต์จะอยู่ภายในเนื้อ หรือเครื่องในของสัตว์ที่เป็นโฮสต์กึ่งกลางที่นำมากินโดยไม่ได้ทำให้สุกพอที่จะฆ่าเชื้อนี้ได้
3. โดยผ่านทางรก ในขณะที่แม่ตั้งท้อง โดยระยะ tachyzoites จะผ่านจากแม่เข้าไปสู่ลูกโดยตรง โดยจะเข้าไปอยู่และทำให้เกิดซีสต์ที่สมอง หรือตา ทำให้เกิดความผิดปกติแรกคลอด
4. โดยผ่านทางน้ำนม โดยระยะ tachyzoites จะออกมากับน้ำนมของแม่ เมื่อลูกกินนมก็จะได้รับเชื้อเข้าไปแต่กรณีนี้จะไม่ทำอันตรายกับลูกได้มากเท่ากับการผ่านทางรก


ที่มาโดย รศ. น.สพ. ดร. สถาพร จิตตปาลพงศ์
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น: